ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 4 ปี 2565

ผู้แต่ง

  • สุชาญวัชร สมสอน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.636

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวัง, การติดเชื้อในโรงพยาบาล, เขตสุขภาพที่ 4

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 4 ปี 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงธันวาคม 2565 จากระบบฐานข้อมูลโรคติดเชื้อ (IC Surveillance Program) ที่ได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล จำนวน 5,201 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล จำนวน 5,201 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 73.18 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 63.47  ส่วนใหญ่อยู่ในโรงพยาบาลศูนย์ ร้อยละ 58.14 และหอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 49.82 นอกจากนี้ตำแหน่งการติดเชื้อที่เป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 51.43 เชื้อก่อโรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ Acinetobacter baumannii ร้อยละ 27.11 Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 16.40 และ Escherichia coli ร้อยละ 13.25 อีกทั้งพบมีการดื้อยา ร้อยละ 32.53 และผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ พบมีการดื้อต่อยา Carbapenem ร้อยละ 77.54 Colistin ร้อยละ 77.54 และ Ceftazidime ร้อยละ 50.47 นอกจากนี้อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล เท่ากับ 5.19 ครั้ง/1,000 วันนอน เมื่อจำแนกตามการติดเชื้อเฉพาะตำแหน่ง อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะ (CAUTI) เท่ากับ 7.70 ครั้ง/1,000 device day อัตราการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใส่เครื่องช่วยหายใจ (VAP) เท่ากับ 27.31 ครั้ง/1,000 device day อัตราการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือด (CABSI) เท่ากับ 13.17 ครั้ง/1,000 device day และอัตราการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด (SSI) เท่ากับ 0.50 ครั้ง/100 การผ่าตัด ข้อเสนอแนะ ควรมีจัดพัฒนาศักยภาพบุคลกรในการวินิจฉัยการติดเชื้อ การเฝ้าระวังการติดเชื้อ และแนวทางการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กลุ่มแผนปฏิบัติการชาติ การป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อและเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล. (2565). แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลระดับชาติ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กัลยพัทธ์ นิยมวิทย์ และ กัญญดา ประจุศิลป. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย. วารสารพยาบาลตำารวจ, 7(1), 153-65. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/41107

กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์, ศันสนีย์ ชัยบุตร และ ปนัดดา มุลาลินน์. (2565). การสำรวจความชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2565. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(3), 25-33. h ttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/258006

นิศมา แสนศรี, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ และ อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2558). ผลของการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่อประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลแบบมุ่งเป้าของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย. พยาบาลสาร, 42(4), 36-47. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53258

ประจวบ ทองเจริญ, อุมาพร รุงเรือง และ ลัดดา สะลีมา. (2564). อุบัติการณการติดเชื้อและการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแหงหนึ่ง. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช, 1(2), 56-68. https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/66

พรพิมล อรรถพรกุศล, นปภา รัตนาพันธ์, วรรณภา วงษ์สาสม, ช่อทิพย์ ทองทิพย์, นิอร ม่วงบำรุง และ มลฑญา เกษสีแก้ว. (2564). ระบาดวิทยา อัตราชุกและประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารกรมการแพทย์, 46(1), 80-88. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/251684

รัชนี ศุจิจันทรรัตน์, อรุณรัตน์ เทพนา และ วราพร หาญคุณะเศรษฐ์. (2561). อัตรากำลังพยาบาลกับผลลัพธ์ด้านการติดเชื้อในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 6-21. https://e-library.siam.edu/e-journal/wp-content/uploads/2019/05/JNSU-vol19-no37-jul-dec2018-1.pdf

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. (2561). คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. (2563). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลระดับประเทศ ปี 2565. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. (2565). ระบบฐานข้อมูลโรคติดเชื้อ (IC Surveillance Program). สืบค้นจาก https://www.nicc-ipcprogram.org/

Khan, H. A., Baig, F. K., & Mehboob, R. (2017). Nosocomial infections: Epidemiology, prevention, control and surveillance. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine, 7(5), 478-482. https://doi.org/10.1016/j.apjtb.2017.01.019

McFee, R. B. (2009). Nosocomial or Hospital-acquired Infections: An Overview. Disease-a-Month, 55(7), 422–438. DOI: 10.1016/j.disamonth.2009.03.014

Russo, P. L., Stewardson, A. J., Cheng, A. C., Bucknall, T., Mitchell, B. G. (2019). The prevalence of healthcare associated infections among adult inpatients at nineteen large Australian acute-care public hospitals: a point prevalence survey. Antimicrob Resist Infect Control, 8, 114.

Unahalekhaka, A. (2012). Prevention of Nosocomial Infection: Principles and Guidelines. Chiangmai: Faculty of Nursing, Chiangmai University.

World Health Organization. (2022). Members States Information Session on Infection Prevention and Control (IPC). Geneva, Switzerland: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-20

How to Cite

สมสอน ส. . . (2023). ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 4 ปี 2565. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(5), 45–56. https://doi.org/10.57260/stc.2023.636